วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


หน่วยยานพาหนะ วันพฤหัสบดี
สอนโดยนางสาว รัชดา เทพเรียน


ตัวหนังสือเล็กกว่ารูปภาพ สีตัวอักษรควรมีหลากหลาย สื่อควรเป็นภาพเล็กให้เหมาะสมกับคำ สามารถโยงเนื้อหาที่เราสอนไปยังบุคลากรที่ประกอบอาชีพใรยานพาหนะนั้นๆ "ภาหนะทำให้เกิดอาชีพ" ระหว่างพูดคุยกับเด็กควรมีการจดบันทึกลงกระดานจะทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อเด็ก




หน่วยยานพาหนะ วันศุกร์
สอนโดยนางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์


ถามประสบการณ์เด็กนอกเหนือจากในเพลง สำหรับรถยนต์คำว่ารัดเข็มขัดควรเรียกว่าคาดเข็มขัด พูดถึงเรื่องที่น่าจะเกิดกับเด็ก เช่น ระหว่างที่พ่อขับรถยนต์ควรนั่งคาดเข็มขัด เป็นต้น มีการร้องเพลงแล้วถามถึงประสบการณ์เดิม ควรเว้นช่องไฟให้สวยงามในการเขียนชาร์ตเพลง 





หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่
สอนโดย นางสาวชนากานต์ แสนสุข


หาคำให้กระชับที่เด็กฟังแล้วเข้าใจง่าย นิทานควรดึงภาพออกมาแล้วเอามาติดไม้เป็นตัวละคร ออกมาเล่าดีกว่าเล่าในหนังสือ เล่าเสร็จถามเด็กถึงเนื้อหาในนิทาน





หน่วย สัตว์น่ารัก วันพุธ
สอนโดย นางสาวสุนันทา


คววรสอนปัจจัยการเป็นอยู่ของสัตว์ในการดำรงค์ชีวิต


"การนำเข้าสู่บทเรียน มีเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจจะได้เรียนรู้ว่าเรียนอะไร"




หน่วย ผักสดสะอาด






หน่วย ผักสดสะอาด





หน่วยผักสดสะอาด


ครูต้องไม่หลุดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายเสร็จแล้วให้เด็กมาหยิบ
ผสมแป้ง > แล้วตั้งปัญหา (อยากกินต้องทำยังไง) > ตั้งสมมติฐาน (ทำยังไงผักถึงจะสุก)  บูรณาการวิทยาศาสตร์  จำนวนสิิ่งของที่เราใส่ไปในกระทะ  บูรณาการคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ที่ใช้ บูรณาการเทคโนโลยี




หน่วย กลางวันกลางคืน 



บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


หน่วยกลางวันกลางคืน วันอังคาร



ต้องมีการสบตากับเด็กให้ทั่วถึงเวลาสอน หนังสือนิทานควรใช้เล่มใหญ่กว่านี้และไม่ควรนั่งบนเก้าอี้เพราะสูงกว่าระดับที่เด็กนั่งและควรนั่งให้พอดีกับระดับสายตาเด็ก





หน่วย ยานพาหนะ วันอังคาร
สอนโดยนางสาวสุทธิกานต์ กางพาพันธ์



เว้นพื้นที่ในการเขียนตรงกลางที่สัมพันธ์กันของแวนไดอาแกรมให้มากกว่านี้ เรียงลำดับการสอนไม่ถูกต้อง ควรกำหนดขอบเขตของข้อมูลส่วนประกอบที่จะสอนเพื่อป้องกันไม่ให้เราเตลิดไปตามเด็ก ยังขาดขั้นนำที่ชวนให้เด็กตื่นเต้นที่จะเรียนรู้ ในส่วนของภาพประกอบที่นำมามีความใหญ่เหมาะสมดีแล้ว แต่ต้องใส่ความน่าสนใจให้น่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้นโดยการตัดกระดาษเป็น 4 ส่วนมาปิดภาพแล้วเปิดทีละส่วนให้เด็กทายว่า คืออะไร จะเป็นการดึงดูดเด็กให้เกิดความสนในมากยิ่งขึ้น เชื่อมคำพูดที่จะพูดเข้ากับรูปภาพแล้วดึงออกมาให้เด็กมีความรู้มากขึ้น เช่น เด็กๆ คิดว่าภาพนี้คือภาพอะไร , ยานพาหนะอันนี้คือ... , วิ่งบน ถนน ท้องฟ้า หรือในน้ำ เป็นต้น ในตารางเกณฑ์ที่มาเขียนควรมีแค่ สี,ส่วนประกอบ เพราะอย่างอื่นไม่สามารถวัดได้ในภาพ




หน่วยยานพาหนะ วันพุธ
สอนโดยนางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว


การเขียนแผนภูมิจะต้องเขียนวนจากขวาไปซ้าย แล้วต้องโยงเส้นระหว่าหัวขอกับคำตอบที่เขียนด้วย เขียนลายมือให้สวยและต้องเขียนให้เร็ว ชาร์ตเพลงเขียนเว้นช่องไฟให้สวยงาม



หน่วยครอบครัวของฉัน วันพุธ
สอนโดยนางสาวปัณฑิตา คล้ายสิงห์


ไม่เห็นถึงประเด็นที่จะสอนขาดกระบวนการสอน



หน่วยครอบครัวของฉัน วันพฤหัสบดี
สอนโดยนางสาวปรางชมพู บุญชม


ไม่มีขั้นนำ ควรถามประสบการณ์เดิมในบ้านของเด็กๆีใครบ้าง ชาร์ตความสัมพันธ์ต้องเริ่มจากบุคคลที่ใกล้ตัวเด็กก่อนไล่ขึ้นไปจนถึงปู่ย่าตายาย ควรนำเป็นภาพมาติด เรียนรู้ไปทีละรูป






หน่วยอาหารหลัก 5 หมู่  วันพุธ
สอนโดยนางสาวกรกช


สื่อภาพที่นำมาสอนมีขนาดเล็กเกินไป ต้องมีภาพใหญ่ให้เด็กเห็นก่อนหรือไม่ก็แจกเด็กแล้วให้เด็กแยกก่อนว่าเป็นผักหรือผลไม้หรือแยกตามหมวด แล้วใส่ตะกร้าให้เด็กส่งต่อเป็นการบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์จากนั้นครูพูดว่าไหนคนเก่งออกมาหน้าชั้นเพื่อนำมาติด ครูถามเด็กว่าได้ภาพอะไร , จัดเป็นกลุ่มผักหรือผลไม้ , ออยู่ในหมูอะไร


บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสที่ 20 เมษายน 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 


กลุ่ม อาหารหลัก 5หมู่

วันจันทร์ สอนโดย นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์

ประเภทของอาหาร 5 หมู่






     ร้องเพลงในขั้นนำเเละถามเด็กๆว่าในเนื้อเพลงมีประเภทอะไรบ้าง
จากนั้นครูให้เด็กๆดูรูปภาพอาหารในหมู่ต่างๆ จากนั้นครูให้เด็กนับ1-5 เพื่อเเบ่งกลุ่มเด็ก เมื่อเด็กนั่งเป็นกลุ่ม ครูก็เเจกจิ๊กซอล ให้เด็กช่วยกันตอรูปภาพอาหารในหมู่ๆต่างๆ จากนั้นครูก็สรุปสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่


หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่ วันอังคาร

สอนโดย นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก





โดยครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กๆฟัง ในคำคล้องจองมีชื่ออาหารอะไรบ้าง
จากนั้นครูขอตัวเเทนเด็กๆออกมาหยิบภาพเพื่อเเบ่งตามหมวดหมู่และให้เด็กติดภาพ โดยครูแบ่งตารางเป็น 2 ช่อง คือ คาร์โบไฮเดรต กับโปรตีน
จากนั้นครูก็สรุปให้เด็กฟังว่ามีอะไรบ้าง



หน่วย ข้าว วันจันทร์

สอนโดย นางสาว ยุภา ธรรมโคตร





โดยครูร้องเพลงข้าวให้เด็กๆฟังจากนั้นครูอธิบายว่าข้าวมีสายพันธ์อะไรบ้างเเละให้เด็กๆได้สังเกตความเเตกต่างของข้าวเเต่ละสายพันธุ์



หน่วย ข้าว วันอังคาร
สอนโดย นางสาว ประภัสสร สีหบุตร




โดยครูอ่านคำคล้องจองให้เด็กๆฟัง
จากนั้นให้เด็กๆสังเกตความเเตกต่างระหว่างข้าวสารเเละข้าวเหนียว เเละให้เด็กๆช่องกันบอกลักษณะของข้าว ทั้ง 2 ชนิด
จากนั้นครูเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความเเตกต่างของข้าวทั้ง 2 ชนิด



หน่วย ผักสดสะอาด วันอังคาร

สอนโดย นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์




โดยครูร้องเพลงผักสดสะอาดให้เด็กๆฟง ให้เด็กๆช่วยกันบอกว่า ในเนื้อเพลง มีส่วนประกอบของผัก นั้นมีอะไรบ้าง เช่น ราก ลำต้น ดอก ใบ
จากนั้นครูนำแครอทเเละผักบุ้งมาให้เด็กๆสังเกตความเเตกต่างเเละเปรียบเทียบให้เด็กๆได้เด็กลักษณะของผักทั้ง 2 ชนิด


เทคนิคที่ใช้

-เรื่องของการใช้เพลง ให้นำเพลงหรือการนำคำคล้องจองที่เกี่ยวกับหน่วยที่เรียน มาเกริ่นนำก่อนเช้าสู่บทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจเด็กๆ
-การใช้ำคำพูดหรือคำที่เหมาะสมเพื่อที่เด็กจะได้เข้าใจง่ายขึ้น
-การนำสื่อมาช่วยในการสอนจะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้มากขึ้น


การนำไปใช้

 -ในเเต่ละหน่วย วันเเรกในการสอนควรเขียนบันทึกในอีกชาร์จหนึ่งที่เป็นเเผนผังมายเเม็ปปิ้งไว้ เพื่อเป็นหัวเรื่องเเละทำให้เด็กได้รู้ว่าเรียนเรื่องนี้ไปแล้ว

-รูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น ตาราง แผนผัง การเเตกความคิดที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย

-การสรุปทบทวนก่อนการจบเรื่องที่สอนเพื่อทบทวนสิ่งที่เด็กได้เรียน



การประเมิน

ประเมินตนเอง

เเต่งกายเรียบร้อย รับฟังคำสั่งครูอย่างตั้งใจ

เเละตอบคำถามด้วยตนเอง


ประเมินเพื่อน

เพื่อนเต่งการเรียบร้อย  เพื่อนช่วยกันคิดตอบคำถามเเละสรุปประเด็น

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


ประเมินอาจารย์

 เเต่งกายสุภาพ สั่งงานได้ครอบคลุมชัดเจน อธิบายงานได้อย่างเข้าใจ

เเละสอนให้คิดคำตอบในสิ่งที่ได้เรียนไป

(อ้างอิงจาก นางสาวรัชดา เทพเรียน)

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8


กลุ่ม ครอบครัวของฉัน สอนโดย นางสาว สุจิตรา มาวงศ์

เรื่อง สมาชิกในครอบครัว



กลุ่มยานพาหนะ สอนโดย นางสาว กมลรัตน์  มาลัย 

เรื่อง ประเภทของยานพาหนะ



กลุ่ม ผักสดสะอาด สอนโดย นางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์

เรื่อง ชนิดของผัก


บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


รับชมนิทาน







           การให้ข้อคิดการช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน
ในปัญหาของคนอื่นเราอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องของเราเราเลยไม่คิดอยากจะช่วยเเต่เมื่อนั้นที่ภัยมาถึงเราเเล้วเราจึงคิดได้ในภายหลัง
ไม่ว่าใครที่เดือดร้อนมา ถ้าเขามาขอความช่วยเหลือจากเรา เเล้วเราพอที่จะช่วยเหลือเขาได้ เราก็ควรทำ


      รับชมวิดีโอการเรียนการสอน แบบโครงการ ของโรงเรียนเกษมพิทยา
ในวิดีโอเป็นการเรียนการสอน เรื่องโปรเจ็ค เห็ด
       โดยครูจะถามความคิดเห็นเด็กๆว่า เด็กๆอยากเรียนเรื่องอะไร
เมื่อเลือกเรื่องได้เเล้ว ครูก็จะถามประสบการณ์เดิมของเด็กว่ารู้อะไรเกี่ยวกับเห็ดบ้าง
เด็กบางคนก็ตอบว่าเคยเห็น เคยทาน เป็นต้น ในบางหัวข้อที่เด็กเรียนอาจจะต้องให้ผู้ปกครองหรือผู้รู้มาให้ความรู้กับเด็กๆ หรืออาจพาออกนอกสนาม เช่นการไปที่ซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อดูเห็ดชนิดต่างๆ
        จากนั้่นก็เรียนลึกเข้าไป เช่น เห็ดมีกี่สายพันธ์ เห็ดเกิดที่ไหนบ้าง เห็ดนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง เป็นต้น
จากนั้นครูก็จะนำความรู้เเละสารนิทัศน์มาจัดเเสดงในวันปิดโปรเจ็ค
ก็จะเชิญผู้ปกครองมาชมการจัดเเสดงของเด็กๆในวันนั้นด้วย

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ

      ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
      ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
      ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
       ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน




เรื่องที่เรียนในวันนี้

การสาธิตการสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ตามหน่วยต่างๆ ก่อนที่จะให้นักศึกษาได้ทดลองสอนด้วยตนเอง




         โดยการสอนในหน่วยต่างๆ วันจันทร์ควรจะเขียนใส่แม็ปปิ้งในหัวข้อของความหมายหรือประเภทไว้ เพื่อที่จะได้เป็นเเนวทางเเละเป็นหลักให้กับวันต่อๆไป ของหน่วยเเต่ละหน่วยเเละวันต่อมาจะทำให้เด็กได้ทราบว่าเรียนอะไรไปแล้วบ้าง


เทคนิคที่ใช้

-คำพูดที่ใช้ในการเกริ่นเรื่องหรือคำถามที่กระตุ้นให้เด็กได้คิดเเละช่วยกันหาคำตอบ

-เทคนิคการเขียน การนั่งที่ไม่บังกระดาน

-การใช้คำถามย้ำๆเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้เด็กมีสมาธิการสิ่งที่เรียนอยู่



การนำไปใช้

-ในเเต่ละหน่วย วันเเรกในการสอนควรเขียนบันทึกในอีกชาร์จหนึ่งที่เป็นเเผนผังมายเเม็ปปิ้งไว้ เพื่อเป็นหัวเรื่องเเละทำให้เด็ฏได้รู้ว่าเรียนเรื่องนี้ไปแล้ว

-รูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น ตาราง แผนผัง การเเตกความคิดที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย



การประเมิน

ประเมินตนเอง

เเต่งกายเรียบร้อย รับฟังคำสั่งครูอย่างตั้งใจ

เเละตอบคำถามด้วยตนเอง


ประเมินเพื่อน

เพื่อนเต่งการเรียบร้อย  เพื่อนช่วยกันคิดตอบคำถามเเละสรุปประเด็น

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


ประเมินอาจารย์

 เเต่งกายสุภาพ สั่งงานได้ครอบคลุมชัดเจน อธิบายงานได้อย่างเข้าใจ

เเละสอนให้คิดคำตอบในสิ่งที่ได้เรียนไป


(อ้างอิงจาก นางสาวรัชดา เทพเรียน)

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ ที่ 6 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6




เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันพุธ-ศุกร์โดยมีหน่วย
1.ครอบครัวของฉัน               2.ผักสดสะอาด
                                               3.ข้าว                                    4.ยานพาหนะ
                                               5.สัตว์น่ารัก




เทคนิคที่ใช้


- การร้องเพลงเราสามารถใส่ท่าประกอบเพลงเพื่อให้เด็กได้ฝึก BBL โดยการตบมือตามจังหวะเพลง



บันทึกการเรียนประจำวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่5 (เรียนชดเชย)

           เพื่อนแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจากสัปดาห์ที่และจังหวะ โดยมีหน่วยดังนี้

1. ครอบครัวของฉัน
2. ผักสดสะอาด
3. ข้าว
4. ยานพาหนะ
5. สัตว์น่ารัก


















วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

การเลือกหน่วยควรเลือกจากไหน
 - เลือกจากสิ่งที่เด็กสนใจ
 - เลือกสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

การออกแบบการเรียนการสอน
 - ยึดหลักทฤษฏีที่เชื่อมั่น
 - พัฒนาการของเด็ก
 - การเรียนรู้แบบนามธรรมไปสู่แบบรูปธรรม
 - ข้อมูลย่อยไปสู่ข้อมูลใหญ่
 - การออกแบบกิจกรรผ่านกิจกรรมการเล่น
 - สาระที่เด็กควรเรียนรู้

กลุ่มของดิฉัน เลือกหน่วย "ยานพาหนะ" 
แนวคิดที่เลือก "ยานพาหนะ" คือ เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามแผน...












เทคนิคที่ใช้

-การนำเพลงมาใช้เพื่อเก็บเด็กก่อนการเริ่มกิจกรรม

เช่นเพลง จับมือกันเป็นวงกลม

-การรวมเด็ก ก่อนเริ่มกิจกรรมด้วยการเข้าเเถวเป็นวงกลม

-การนำรายวิชาต่างๆมาบูรณาการใน 6 กิจกรรมที่จัดให้กับเด็ก

เช่น  ในส่วนของวิทยาศาสตร์ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

โดยเด็กได้เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวไปอยู่ตามตำแหน่งหรือมุมที่ครูกำหนดไว้ในกิจกรรม เป็นต้น



เทคนิค การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
- ร้องเพลงไข่
- ถามเด็กว่าในเนื้อเพลงมีไข่อะไรบ้าง
- เขียนชื่อไข่ในเพลงลงในกระดาน
- ถามประสบการณ์เดิมว่านอกจากในเพลงเด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง
- เด็กคิดว่าในตะกร้ามีไข่กี่ฟอง (เป็นการกะประมาณว่าไข่มีกี่ฟอง)
- นับไข่ในตะกร้าว่ามีกี่ฟอง
- เด็กตอบตามที่ตาเห็นหรือใช้เหตุผล






  



การมอบหมายงาน  

- มอบหมายงานให้เเต่ละบุคคล สืบค้นข้อมูล

- กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย คนละ 3 กิจกรรม

- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่เเละสร้างสรรค์



ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการประจำวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

ระดมความคิดร่วมกัน ในการคิดเรื่องหน่วยที่จะสอน 

เพื่อจัดทำแผนการสอน 5 วันเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ

กลุ่มของดิฉันเลือกหน่วย ยานพาหนะ

แบ่งย่อยตามหัวข้อ

1.ชื่อเเละประเภท

2.ลักษณะ

3.การดูแลรักษา

4.ประโยชน์

5.ข้อควรระวัง

เเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 










ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560

บันทึกการครั้งที่ 2

วัตถุประสงค์การจัดมุมประสบการณ์
- เพื่อให้เด็กมีอิสระในการตัดสินใจมีประสบการณ์จริง
- เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เพื่อปรับโครงสร้างความรู้ ให้เกิดความรู้ใหม่


เทคนิคในการบอกให้เด็กเก็บของโดยการใช้เพลง


...เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บของที
เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว...


เพลงอื่นๆ ที่ใช้ในการดก็บเด็ก


                      รอฉันรอเธออยู่แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด 
                      เธอจะมาเธอจะมาเมื่อไหร่ (ซ้ำ)
                      หรือเธอไปไหนทำไมไม่มา 
                      ฉันเป็นห่วง (ซ้ำ) ตัวเธอ
                      ให้ฉันเก้อชะเง้อคอยหา
                       นัดไว้ทำไมไม่มา (ซ้ำ)
                                         โอ่เธอจ๋าอย่าช้าเร็วหน่อย (ซ้ำ)
                        รีบหน่อย (ซ้ำ) เร่งหน่อย (ซ้ำ)



เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถวอย่าล้ำแนว เดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนไม่ทัน
ระวังจะเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
 

เพลงรถไฟ
ปู๊นกระฉึกปู๊นกระฉึกฉึกฉึก
เด็ก ๆ นั่งอยู่บนรถไฟ ไม่ว่าจะไปทางไหน
บนรถไฟเด็กจะไป ..........(สถานที่ที่ต้องการไป)
 

เพลงนั่งตัวให้ตรง
นั่งตัวให้ตรง นั่งตัวให้ตรงตรงไหมจ๊ะ ตรงไหมจ๊ะ
เราทุกคนไม่ลุกจากที่
เราทุกคคนไม่ลุกจากที่
เป็นเด็กดีเป็นเด็กดี
 

เพลงนั่งขัดสมาธิ
นั่งขัดสมาธิให้ดีสองมือวางทับกันทันที
หลับตานั่งตัวตรงสิตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ
 

เพลงยืนตรง
สองมือเราชูตรงแล้วเอาลงมาเสมอกับไหล่
ต่อไปย้ายมาข้างหน้าเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
 

เพลงล้างมือ
ล้างมือซะก่อนก่อนจะทำอะไร
ล้างมือเข้าไว้เราปลอดภัยสะอาด
 

เพลงฟังให้ดี
ฟังนะฟังให้ดีฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ฟังนะฟังให้ดีฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ทางซ้ายทางขวาข้างหน้าหรือว่าข้างหลัง
ข้างบนข้างล่างทางไหนก็ช่วยบอกที
ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา
 

เพลงกระซิบ
กระซิบ กระซิบ อย่าให้เสียงดังควรระวังผู้อื่นหนวกหู
พวกเด็ก ๆ ต้องเกรงใจครูคุณหนู ๆ อย่าทำเสียงดัง
 

เพลงลาก่อนของเล่น
ได้เวลา ฉันขอบอกลาของเล่นที่รัก
เจ้าพักผ่อนกายห่มผ้าให้แล้ว
เจ้านอนสบายพรุ่งนี้จะมาเล่นใหม่
 

เพลงเก็บของเล่น
เก็บ เก็บ เก็บมาช่วยกันเก็บของเล่นที
เร็วคนดีมาช่วยกันเก็บของเล่นกัน
 

เพลงดื่มนม
ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะๆร่างกายแข็งแรง
 

เพลงแปรงซิแปรงฟัน
แปรงซิแปรง แปรงฟันฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดเมื่อหนูแปรงฟัน
 


เพลงกินข้าวกัน
มากินข้าวกัน มากินข้าวกันกับดีๆ กับ ดีๆ
มีทั้งแกงและต้มยำ (x2)อ้ำอ้ำ อร่อยดี
 


เพลงบ้าย บาย
วันนี้หมดเวลาบ้ายบายนะเธอ
คิดถึงเธอเสมอโบกมืออำลา
พบเธอด้วยรอยยิ้มพบกันวันหน้า
ยิ้มกันหน่อยซิจ๊ะโบกมือบ้ายบาย


เพลงก่อนฟังนิทาน

เด็กๆ จ๋า...ชวนกันมาฟังนิทาน 
นิทานสนุกสนานฟังแล้วชื่นบานจิตใจ
สองมือวางนั่งตัวตรง คงความนิ่งเอาไว้
นั่งฟังอย่างอย่างตั้งใจแล้วจะได้
ใจความเรื่องเอย 


ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


ปฐมนิเทศก่อนการเรียน ( Orientation before classes )

1.แนะนำรายละเอียดการสอนในหัวข้อ ดังนี้

-จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

-ลักษณะเเละการดำเนินการ

-การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

-แผนการสอนเเละการประเมิน

-ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

-การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา




ทบทวนความรู้  (review knowledge)



-รูปแบบการเรียนของเด็กปฐมวัย

-พัฒนาการเเละคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย

-การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

-ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย





          พัฒนาการเเละคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย

                  พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทางด้านต่างๆในแต่ละช่วงอายุของเด็กปฐมวัยการศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก สอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านอารมณ์และพัฒนาการทางด้านจิตใจ


  
คุณลักษณะตามวัยขอเด็กปฐมวัย

         คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ

ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัด

ประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความ

แตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ

พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง



กิจกรรม


1.รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย






กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม


แนวทางในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการในระดับปฐมวัย


        1. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อ

และเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์

 หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ โดยให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี

ตามความสนใจและความต้องการของเด็ก 



        2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออก

ทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้

ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การ

ร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ ได้รับรู้เกี่ยว

กับความงาม และได้แสดงออกทางความรู้สึก 



        3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้

เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียง

เพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ หรืออุปกรณ์อื่นๆมาประกอบ

การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิด

สร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ในระหว่างพัฒนา การใช้ส่วน

ต่างๆ ของร่างกายยังไม่ผสมผสานหรือประสานสัมพันธ์กันอย่าง

สมบูรณ์ 



        4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้

พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่ม

ย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด 

สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบ

ยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน 


        5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไป

นอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่าง

อิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก 

กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่น



        6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนา

สติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียว หรือเล่น

เป็นกลุ่มก็ได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิด

รวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับ

พื้นที่




2.ตารางกิจวัตรประจำวันของเเต่ละโรงเรียน






การประเมิน




ประเมินตนเอง

เเต่งกายเรียบร้อย รับฟังคำสั่งครูอย่างตั้งใจ 

เเละตอบคำถามด้วยตนเอง 


ประเมินเพื่อน

เพื่อนเต่งการเรียบร้อย  เพื่อนช่วยกันคิดตอบคำถามเเละสรุปประเด็น

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


ประเมินอาจารย์

 เเต่งกายสุภาพ สั่งงานได้ครอบคลุมชัดเจน 

อธิบายงานได้อย่างเข้าใจเเละสอนให้คิดคำตอบในสิ่งที่ได้เรียนไป

                                            *****เครดิต...นางสาวรัชดา เทพเรียน *****