วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


รับชมนิทาน







           การให้ข้อคิดการช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน
ในปัญหาของคนอื่นเราอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องของเราเราเลยไม่คิดอยากจะช่วยเเต่เมื่อนั้นที่ภัยมาถึงเราเเล้วเราจึงคิดได้ในภายหลัง
ไม่ว่าใครที่เดือดร้อนมา ถ้าเขามาขอความช่วยเหลือจากเรา เเล้วเราพอที่จะช่วยเหลือเขาได้ เราก็ควรทำ


      รับชมวิดีโอการเรียนการสอน แบบโครงการ ของโรงเรียนเกษมพิทยา
ในวิดีโอเป็นการเรียนการสอน เรื่องโปรเจ็ค เห็ด
       โดยครูจะถามความคิดเห็นเด็กๆว่า เด็กๆอยากเรียนเรื่องอะไร
เมื่อเลือกเรื่องได้เเล้ว ครูก็จะถามประสบการณ์เดิมของเด็กว่ารู้อะไรเกี่ยวกับเห็ดบ้าง
เด็กบางคนก็ตอบว่าเคยเห็น เคยทาน เป็นต้น ในบางหัวข้อที่เด็กเรียนอาจจะต้องให้ผู้ปกครองหรือผู้รู้มาให้ความรู้กับเด็กๆ หรืออาจพาออกนอกสนาม เช่นการไปที่ซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อดูเห็ดชนิดต่างๆ
        จากนั้่นก็เรียนลึกเข้าไป เช่น เห็ดมีกี่สายพันธ์ เห็ดเกิดที่ไหนบ้าง เห็ดนำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง เป็นต้น
จากนั้นครูก็จะนำความรู้เเละสารนิทัศน์มาจัดเเสดงในวันปิดโปรเจ็ค
ก็จะเชิญผู้ปกครองมาชมการจัดเเสดงของเด็กๆในวันนั้นด้วย

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ

      ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
      ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
      ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
       ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน




เรื่องที่เรียนในวันนี้

การสาธิตการสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ตามหน่วยต่างๆ ก่อนที่จะให้นักศึกษาได้ทดลองสอนด้วยตนเอง




         โดยการสอนในหน่วยต่างๆ วันจันทร์ควรจะเขียนใส่แม็ปปิ้งในหัวข้อของความหมายหรือประเภทไว้ เพื่อที่จะได้เป็นเเนวทางเเละเป็นหลักให้กับวันต่อๆไป ของหน่วยเเต่ละหน่วยเเละวันต่อมาจะทำให้เด็กได้ทราบว่าเรียนอะไรไปแล้วบ้าง


เทคนิคที่ใช้

-คำพูดที่ใช้ในการเกริ่นเรื่องหรือคำถามที่กระตุ้นให้เด็กได้คิดเเละช่วยกันหาคำตอบ

-เทคนิคการเขียน การนั่งที่ไม่บังกระดาน

-การใช้คำถามย้ำๆเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้เด็กมีสมาธิการสิ่งที่เรียนอยู่



การนำไปใช้

-ในเเต่ละหน่วย วันเเรกในการสอนควรเขียนบันทึกในอีกชาร์จหนึ่งที่เป็นเเผนผังมายเเม็ปปิ้งไว้ เพื่อเป็นหัวเรื่องเเละทำให้เด็ฏได้รู้ว่าเรียนเรื่องนี้ไปแล้ว

-รูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น ตาราง แผนผัง การเเตกความคิดที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย



การประเมิน

ประเมินตนเอง

เเต่งกายเรียบร้อย รับฟังคำสั่งครูอย่างตั้งใจ

เเละตอบคำถามด้วยตนเอง


ประเมินเพื่อน

เพื่อนเต่งการเรียบร้อย  เพื่อนช่วยกันคิดตอบคำถามเเละสรุปประเด็น

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


ประเมินอาจารย์

 เเต่งกายสุภาพ สั่งงานได้ครอบคลุมชัดเจน อธิบายงานได้อย่างเข้าใจ

เเละสอนให้คิดคำตอบในสิ่งที่ได้เรียนไป


(อ้างอิงจาก นางสาวรัชดา เทพเรียน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น