วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

การเลือกหน่วยควรเลือกจากไหน
 - เลือกจากสิ่งที่เด็กสนใจ
 - เลือกสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

การออกแบบการเรียนการสอน
 - ยึดหลักทฤษฏีที่เชื่อมั่น
 - พัฒนาการของเด็ก
 - การเรียนรู้แบบนามธรรมไปสู่แบบรูปธรรม
 - ข้อมูลย่อยไปสู่ข้อมูลใหญ่
 - การออกแบบกิจกรรผ่านกิจกรรมการเล่น
 - สาระที่เด็กควรเรียนรู้

กลุ่มของดิฉัน เลือกหน่วย "ยานพาหนะ" 
แนวคิดที่เลือก "ยานพาหนะ" คือ เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามแผน...












เทคนิคที่ใช้

-การนำเพลงมาใช้เพื่อเก็บเด็กก่อนการเริ่มกิจกรรม

เช่นเพลง จับมือกันเป็นวงกลม

-การรวมเด็ก ก่อนเริ่มกิจกรรมด้วยการเข้าเเถวเป็นวงกลม

-การนำรายวิชาต่างๆมาบูรณาการใน 6 กิจกรรมที่จัดให้กับเด็ก

เช่น  ในส่วนของวิทยาศาสตร์ ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

โดยเด็กได้เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวไปอยู่ตามตำแหน่งหรือมุมที่ครูกำหนดไว้ในกิจกรรม เป็นต้น



เทคนิค การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
- ร้องเพลงไข่
- ถามเด็กว่าในเนื้อเพลงมีไข่อะไรบ้าง
- เขียนชื่อไข่ในเพลงลงในกระดาน
- ถามประสบการณ์เดิมว่านอกจากในเพลงเด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง
- เด็กคิดว่าในตะกร้ามีไข่กี่ฟอง (เป็นการกะประมาณว่าไข่มีกี่ฟอง)
- นับไข่ในตะกร้าว่ามีกี่ฟอง
- เด็กตอบตามที่ตาเห็นหรือใช้เหตุผล






  



การมอบหมายงาน  

- มอบหมายงานให้เเต่ละบุคคล สืบค้นข้อมูล

- กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย คนละ 3 กิจกรรม

- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่เเละสร้างสรรค์



ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการประจำวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

ระดมความคิดร่วมกัน ในการคิดเรื่องหน่วยที่จะสอน 

เพื่อจัดทำแผนการสอน 5 วันเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ

กลุ่มของดิฉันเลือกหน่วย ยานพาหนะ

แบ่งย่อยตามหัวข้อ

1.ชื่อเเละประเภท

2.ลักษณะ

3.การดูแลรักษา

4.ประโยชน์

5.ข้อควรระวัง

เเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 










ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560

บันทึกการครั้งที่ 2

วัตถุประสงค์การจัดมุมประสบการณ์
- เพื่อให้เด็กมีอิสระในการตัดสินใจมีประสบการณ์จริง
- เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เพื่อปรับโครงสร้างความรู้ ให้เกิดความรู้ใหม่


เทคนิคในการบอกให้เด็กเก็บของโดยการใช้เพลง


...เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บของที
เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว...


เพลงอื่นๆ ที่ใช้ในการดก็บเด็ก


                      รอฉันรอเธออยู่แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด 
                      เธอจะมาเธอจะมาเมื่อไหร่ (ซ้ำ)
                      หรือเธอไปไหนทำไมไม่มา 
                      ฉันเป็นห่วง (ซ้ำ) ตัวเธอ
                      ให้ฉันเก้อชะเง้อคอยหา
                       นัดไว้ทำไมไม่มา (ซ้ำ)
                                         โอ่เธอจ๋าอย่าช้าเร็วหน่อย (ซ้ำ)
                        รีบหน่อย (ซ้ำ) เร่งหน่อย (ซ้ำ)



เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถวอย่าล้ำแนว เดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนไม่ทัน
ระวังจะเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
 

เพลงรถไฟ
ปู๊นกระฉึกปู๊นกระฉึกฉึกฉึก
เด็ก ๆ นั่งอยู่บนรถไฟ ไม่ว่าจะไปทางไหน
บนรถไฟเด็กจะไป ..........(สถานที่ที่ต้องการไป)
 

เพลงนั่งตัวให้ตรง
นั่งตัวให้ตรง นั่งตัวให้ตรงตรงไหมจ๊ะ ตรงไหมจ๊ะ
เราทุกคนไม่ลุกจากที่
เราทุกคคนไม่ลุกจากที่
เป็นเด็กดีเป็นเด็กดี
 

เพลงนั่งขัดสมาธิ
นั่งขัดสมาธิให้ดีสองมือวางทับกันทันที
หลับตานั่งตัวตรงสิตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ
 

เพลงยืนตรง
สองมือเราชูตรงแล้วเอาลงมาเสมอกับไหล่
ต่อไปย้ายมาข้างหน้าเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
 

เพลงล้างมือ
ล้างมือซะก่อนก่อนจะทำอะไร
ล้างมือเข้าไว้เราปลอดภัยสะอาด
 

เพลงฟังให้ดี
ฟังนะฟังให้ดีฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ฟังนะฟังให้ดีฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ทางซ้ายทางขวาข้างหน้าหรือว่าข้างหลัง
ข้างบนข้างล่างทางไหนก็ช่วยบอกที
ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา
 

เพลงกระซิบ
กระซิบ กระซิบ อย่าให้เสียงดังควรระวังผู้อื่นหนวกหู
พวกเด็ก ๆ ต้องเกรงใจครูคุณหนู ๆ อย่าทำเสียงดัง
 

เพลงลาก่อนของเล่น
ได้เวลา ฉันขอบอกลาของเล่นที่รัก
เจ้าพักผ่อนกายห่มผ้าให้แล้ว
เจ้านอนสบายพรุ่งนี้จะมาเล่นใหม่
 

เพลงเก็บของเล่น
เก็บ เก็บ เก็บมาช่วยกันเก็บของเล่นที
เร็วคนดีมาช่วยกันเก็บของเล่นกัน
 

เพลงดื่มนม
ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มดื่มนมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะๆร่างกายแข็งแรง
 

เพลงแปรงซิแปรงฟัน
แปรงซิแปรง แปรงฟันฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดเมื่อหนูแปรงฟัน
 


เพลงกินข้าวกัน
มากินข้าวกัน มากินข้าวกันกับดีๆ กับ ดีๆ
มีทั้งแกงและต้มยำ (x2)อ้ำอ้ำ อร่อยดี
 


เพลงบ้าย บาย
วันนี้หมดเวลาบ้ายบายนะเธอ
คิดถึงเธอเสมอโบกมืออำลา
พบเธอด้วยรอยยิ้มพบกันวันหน้า
ยิ้มกันหน่อยซิจ๊ะโบกมือบ้ายบาย


เพลงก่อนฟังนิทาน

เด็กๆ จ๋า...ชวนกันมาฟังนิทาน 
นิทานสนุกสนานฟังแล้วชื่นบานจิตใจ
สองมือวางนั่งตัวตรง คงความนิ่งเอาไว้
นั่งฟังอย่างอย่างตั้งใจแล้วจะได้
ใจความเรื่องเอย 


ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


ปฐมนิเทศก่อนการเรียน ( Orientation before classes )

1.แนะนำรายละเอียดการสอนในหัวข้อ ดังนี้

-จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

-ลักษณะเเละการดำเนินการ

-การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

-แผนการสอนเเละการประเมิน

-ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

-การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา




ทบทวนความรู้  (review knowledge)



-รูปแบบการเรียนของเด็กปฐมวัย

-พัฒนาการเเละคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย

-การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

-ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย





          พัฒนาการเเละคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย

                  พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทางด้านต่างๆในแต่ละช่วงอายุของเด็กปฐมวัยการศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก สอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ฝึกพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เช่น พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านอารมณ์และพัฒนาการทางด้านจิตใจ


  
คุณลักษณะตามวัยขอเด็กปฐมวัย

         คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ

ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัด

ประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความ

แตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ

พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง



กิจกรรม


1.รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย






กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม


แนวทางในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการในระดับปฐมวัย


        1. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อ

และเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์

 หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ โดยให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี

ตามความสนใจและความต้องการของเด็ก 



        2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออก

ทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้

ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การ

ร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ ได้รับรู้เกี่ยว

กับความงาม และได้แสดงออกทางความรู้สึก 



        3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้

เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียง

เพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ หรืออุปกรณ์อื่นๆมาประกอบ

การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิด

สร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ในระหว่างพัฒนา การใช้ส่วน

ต่างๆ ของร่างกายยังไม่ผสมผสานหรือประสานสัมพันธ์กันอย่าง

สมบูรณ์ 



        4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้

พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่ม

ย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด 

สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบ

ยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน 


        5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไป

นอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่าง

อิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก 

กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่น



        6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนา

สติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียว หรือเล่น

เป็นกลุ่มก็ได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิด

รวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับ

พื้นที่




2.ตารางกิจวัตรประจำวันของเเต่ละโรงเรียน






การประเมิน




ประเมินตนเอง

เเต่งกายเรียบร้อย รับฟังคำสั่งครูอย่างตั้งใจ 

เเละตอบคำถามด้วยตนเอง 


ประเมินเพื่อน

เพื่อนเต่งการเรียบร้อย  เพื่อนช่วยกันคิดตอบคำถามเเละสรุปประเด็น

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


ประเมินอาจารย์

 เเต่งกายสุภาพ สั่งงานได้ครอบคลุมชัดเจน 

อธิบายงานได้อย่างเข้าใจเเละสอนให้คิดคำตอบในสิ่งที่ได้เรียนไป

                                            *****เครดิต...นางสาวรัชดา เทพเรียน *****